วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2559

ทฤษฎีเกสตัลท์(Gestalt Theory)
นักจิตวิทยาคนสำคัญของทฤษฎีนี้ คือ แมกซ์ เวอร์ไทเมอร์(Max Wertheimer) วุล์แกงค์ โคห์เลอร์ (Wolfgang Kohler) เคริ์ท คอฟฟ์กา (Kurt Koffka) และเคริ์ท เลวิน (Kurt Lewin)

ทฤษฎีเกสตัลท์ (Gestalt Theory)
          เกสตัลท์ เป็นศัพท์ในภาษาเยอรมันมีความหมายว่า แบบแผนหรือ รูปร่าง”(form or pattern) ซึ่งในความหมายของทฤษฎี หมายถึง .ส่วนรวม” (Whole-ness) แนวความคิดหลักของทฤษฎีนี้ก็คือ ส่วนรวมมิใช่เป็นเพียงผลรวมของส่วนย่อย ส่วนรวมเป็นสิ่งที่มากกว่าผลรวมของส่วนย่อย ( the whole is more than the sum of the parts) กฎการเรียนรู้ของทฤษฎีนี้สรุปได้ดังนี้ (Bigge, 1982: 190-202)
          ทฤษฎีการเรียนรู้
          1. การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนภายในตัวของมนุษย์
          2. บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย
          3. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ คือ
              3.1 การรับรู้ (perception) การรับรู้เป็นกระบวนการที่บุคคลใช้ประสาทสัมผัสรับสิ่งเร้า                     
                    แล้วโยนเข้าสู่สมองเพื่อผ่านเข้าสู่กระบวนความคิด สมองหรือจิตจะใช้
                    ประสบการณ์เดิมตีความหมายของสิ่งเร้าและแสดงปฎิกิริยาตอบสนองออกไป
                    ตามที่สมอง/จิต ตีความหมาย
              3.2 การหยั่งเห็น (insight) เป็นการค้นพบหรือการเกิดความเข้าใจในช่องทางแก้ปัญหา
                    อย่างเฉียบพลันทันที อันเนื่องมาจากผลการพิจารณาปัญหาโดยส่วนรวม และการ
                    ใช้กระบวนการทางความคิดและสติปํญญาของบุคคลนั้น
           4. กฎการจัดระเบียบการเรียนรู้ (perception) ของทฤษฎีเกสตัลท์มีดังนี้
                4.1 กฎการรับรู้ส่วนรวมและส่วนย่อย (Law of Pragnanz) ประสบการณ์เดิมมีอิทธิหล
                      ต่อการรับรู้ของบุคคล การรับรู้ของบุคคลต่อสิ่งเร้าเดียวกันอาจแตกต่างกันได้
                      เพราะการใช้ประสบการณ์เดิมมารับรู้ส่วนรวมและส่วนย่อยต่างกัน
                4.2 กฎแห่งความคล้ายคลึง ( Law of Similarity) สิ่งเร้าใดที่มีลักษณะเหมือนกัน หรือ
                      คล้ายคลึงกัน บุคคลมักรับรู้เป็นพวกเดียวกัน
                4.3 กฎแห่งความใกล้เคียง (Law of Proximity) แม้สิ่งเร้าที่มีความใกล้เคียงกันบุคคล
                      มักรับรู้เป็นพวกเดียวกัน
               4.4 กฎแห่งความสมบูรณ์ (Law of Closure ) แม้สิ่งเร้าที่บุคคลรับรู้ยังไม่สมบูรณ์ แต่
                     บุคคลสามารถรับรู้ในลักษณะสมบูรณ์ได้ถ้าทุกคนมีประสบการณ์เดิมในสิ่งเร้านั้น
               4.5 กฎแห่งความต่อเนื่อง สิ่งเร้าที่มีความต่อเนื่องกันหรือมีทิศทางไปในแนวเดียวกัน
                     บุคคลมักรับรู้เป็นพวกเดียวกันหรือเรื่องเดียวกันหรือเป็นเหตุผลกัน
               4.6 บุคคลมักมีความคงที่ในความหมายของสิ่งที่รับรู้ตามความเป็นจริง กล่าวคือ เมื่อ
                     บุคคลรับรู้สิ่งเร้าในภาพรวมแล้วจะมีความคงที่ในการรับรู้สิ่งนั้นในลักษณะเป็น
                     ภาพรวมดังกล่าว ถึงแม้ว่าสิ่งเร้านั้นจะได้เปลี่ยนแปรไปเมื่อรับรู้ในแง่มุมอื่น เช่น
                     เมื่อเห็นปากขวดกลมเรามักจะเห็นว่ามันกลมเสมอ ถึงแม้ว่าในการมองบางมุม
                     ภาพที่เห็นจะเป็นรูปวงรีก็ตาม
               4.7 การรับรู้ของบุคคลอาจผิดพลาด บิดเบือน ไปจากความเป็นจริงได้ เนื่องมาจาก
                     ลักษณะของการจัดกลุ่มสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการลวงตา
          5. การเรียนรู้แบบหยั่งเห็น (insight) โคห์เลอร์ (kohler) ได้สังเกตการณ์เรียนรู้ของลิงใน
              การทดลอง ลิงพยายามหาวิธีที่จะเอากล้วยซึ่งแขวนอยู่สูงเกินกว่าที่จะเอื้อมถึงได้ ใน
              ที่สุดลิงเกิดความคิดที่จะเอาไม้ไปสอยกล้วยที่แขวนเอามากินได้ สรุปได้ว่า ลิงมีการ
              เรียนรู้แบบหยั่งเห็น การหยั่งเห็นเป็นการค้นพบ หรือเกิดความเข้ใจในช่องทาง
              แก้ปัญหาอย่างฉับพลันทันที อันเนื่องมาจากผลการพิจารณาปัญหาโดยส่วนรวมและ
              การใช้กระบวนการทางความคิดและสติปัญญาของบุคคลนั้นในการเชื่อมโยง
              ประสบการณ์เดิมกับปัญหาหรือ สถานการณ์ที่เผชิญ ดังนั้นปัจจัยสำคัญของการเรียนรู้
              แบบหยั่งเห็นก็คือ ประสบการณ์ หากมีประสบการณ์สะสมไว้มาก การเรียนรู้แบบหยั่ง         
              เห็นก็จะสะสมไว้มาก การเรียนรู้แบบหยั่งเห็นก็จะเกิดขึ้นได้มากเช่นกัน
หลักการจัดการศึกษา/การสอน
         1. กระบวนการคิดเป็นกระบวนการสำคัญในการเรียนรู้ การส่งเสริมกระบวนการคิดจึงเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
        2. การสอนโดยการเสนอภาพรวมเพื่อให้ผู้เรียนเห็นและเข้าใจก่อนการเสนอส่วนย่อยจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
        3. การส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มาก ได้รับประสบการณ์ที่หลากหลายจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถคิดแก้ปัญหาและคิดริเริ่มได้มากขึ้น
        4. การจัดประสบการณ์ใหม่ ให้มีความสัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม ของผู้เรียนจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ดีและง่ายขึ้น
        5. การจัดระเบียบสิ่งเร้าที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี คือการจัดกลุ่มสิ่งเร้าที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน
        6. ในการสอน ครูไม่จำเป็นต้องเสียเวลาเสนอเนื้อหาทั้งหมดที่สมบูรณ์ ครูสามารถเสนอเนื้อหาแต่เพยงบางส่วนได้ หากผู้เรียนสามารถใช้ประสบการณ์เดิมมาเติมให้สมบูรณ์
        7. การเสนอบทเรียนหรือเน้อหาควรจัดให้มีความต่อเนื่องกัน จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีและรวดเร็ว

        8. การส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย จะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้แบบหยั่งเห็นได้มากขึ้น


ทฤษฏีการเรียนรู้เกสตัลท์สามารถนำแผนการสอนมาใช้ได้ดังนี้

แผนการจัดเสริมประสบการณ์
ตามแนวคิด (นวัตกรรมวิถีพุทธ)

หลักการและเหตุผล
การจัดการเรียนการสอนตามวิถีพุทธ วัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดวิธีพุทธ คือเพื่อพัฒนาให้เด็กเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งพฤติกรรม จิตใจ และปัญญา ซึ่งวัตถุประสงค์ของการศึกษาจะเป็นตัวกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้

รูปแบบการเรียนการสอนแบบวิถีพุทธอาจไม่แตกต่างไปจากโรงเรียนอื่นๆที่มีอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อม และบรรยากาศของความร่มรื่น ความเป็นธรรมชาติ ชวนให้ใจสงบ ส่งเสริมให้เกิดปัญญาด้วยกันทั้งนั้น แต่สิ่งที่แตกต่างเป็นการน้อมนำเอาคำสอนของพระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ที่จะบ่มเพาะให้ทุกคนในชุมชน ทั้งเด็ก ครู และผู้ปกครองมีความสุขในการดำรงชีวิตซึ่งเป็น “ความสุขที่แท้จริง” ไม่ใช่ความสุขเพื่อจะเป็นทุกข์ในวันข้างหน้า

แผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์
ระดับชั้นเด็กเล็กห้อง 2
สาระการเรียนรู้  หน่วยวันเข้าพรรษา

ผังวิเคราะห์สาระการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
            



1. วัตถุประสงค์
    1.1 เด็กๆบอกกิจกรรมที่ควรปฏิบัติในวันเข้าพรรษาได้
2. สาระการเรียนรู้
    2.1 สาระที่ควรรู้
ความหมายของวันเข้าพรรษา ได้แก่ การทำบุญตักบาตร ถวายเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน
    2.2 ประสบการณ์สำคัญ
1) การร้องเพลง
            2) การตอบคำถามและอภิปรายภาพประกอบ
            3) ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
ขั้นนำ
     1. ครูทักทายและเตรียมเด็กให้พร้อมก่อนเรียนด้วยการร้องเพลงวันเข้าพรรษา แล้วถามเด็กว่า  
       วันเข้าพรรษาตรงกับเดือนอะไร พระจำพรรษากี่เดือน เมื่อเด็กตอบถูกครูพูดชมเชยขั้นสอน
     2. ครูและเด็กร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมวันเข้าพรรษา โดยใช้ภาพประกอบ ,VCD
        ประกอบการสอน เรื่องวันสำคัญทางศาสนา (วันเข้าพรรษา)
     3. ครูและเด็กๆร่วมกันสรุปเพิ่มเติมถึงกิจกรรมในวันเข้าพรรษา
     4. การประเมินผล
     5. สื่อ (ระบุสื่อ)
          -เพลงวันเข้าพรรษา
          -ภาพประกอบการสอน
          -VCD ประกอบการสอน เรื่องวันสำคัญทางศาสนา (วันเข้าพรรษา)
ภาคผนวก (ระบุเนื้อเพลงที่ใช้ในกิจกรรม)
              เพลงวันเข้าพรรษา
                  วันเข้าพรรษาโปรดจงได้จดจำ วันเข้าพรรษาโปรดจงได้จดจำ
                   เดือนแปดข้างแรม 1 ค่ำ  เดือนแปดข้างแรม 1 ค่ำ 
                   พระสงฆ์ประจำ อยู่วัดทุกคืน กำหนดสามเดือน ไม่ฝ่าไม่ฝืน
                   กำหนดสามเดือน ไม่ฝ่าไม่ฝืน จำวัดที่อื่น จะผิดศีลเอย
                                                                          โดย สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
      6.บันทึกหลังการสอน
          -เด็กๆรู้จักกิจกรรมวันเข้าพรรษา
          -เด็กๆรู้จักการปฏิบัติตนในวันเข้าพรรษา
บันทึกหลังการสอน
       (สมาชิกกลุ่มต้องนำแผน สื่อ และนวัตกรรมไปใช้สอนที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของตนเองและ 
        บันทึกหลังการสอนทุกศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก)
หน่วยที่สอน  วันเข้าพรรษา
วันที่สอน 27 พ.ย. 2559 เวลา 09.00 – 09.30 น.
สถานที่สอน  ห้องเรียนเด็กเล็ก 2
สรุปกิจกรรมสั้นๆพอเข้าใจ
    1. ครูทักทายและเตรียมเด็กให้พร้อมก่อนเรียนด้วยการร้องเพลงวันเข้าพรรษา
    2. ครูและเด็กร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับความสำคัญของวันเข้าพรรษา โดยใช้ภาพประกอบ
       ,VCDประกอบการสอน เรื่องวันสำคัญทางศาสนา (วันเข้าพรรษา)
    3. ร่วมกันสรุป
สิ่งที่ประทับใจขณะสอน
เด็กๆร้องเพลงตามได้ และเด็กส่วนใหญ่สามารถตอบคำถามได้ถูกต้อง
สิ่งที่เป็นอุปสรรคหรือสิ่งที่คิดจะแก้ไข
เด็กบางคนยังไม่เข้าใจความหมายของวันเข้าพรรษา
ความรู้ใหม่ที่ได้ในการสอนครั้งนี้
เด็กๆชอบมากเวลาได้ไปทำบุญตักบาตร ถวายเทียนพรรษาที่วัด



การนำทฤษฎีนี้มาใช้ในการเรียนการสอน

      ในการสอนครูควรจะให้ผู้เรียนมองเห็นโครงสร้าง ทั้งหมดของเรื่องที่จะสอนก่อน เพื่อให้เด็กเกิดการรับรู้เป็นส่วนรวมแล้วจึงแยกส่วนออกมาสอนเป็นตอนๆเน้นให้ผู้เรียนเรียนด้วยความเข้าใจมากกว่าเน้นการเรียนแบบท่องจำการเรียนด้วยความเข้าใจต้องอาศัยสื่อที่ชัดเจนประกอบการเรียนและต้องเรียนด้วยการปฏิบัติจริงหรือผู้เรียนลงมือกระทำเอง( LearningbyDoing )ฝึกให้ผู้เรียนสามารถโยงความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ที่เรียนไปแล้วกับความรู้ใหม่ว่ามีความแตกต่างและคล้ายคลึงกันอย่างไรเพื่อช่วยให้จำได้นาน
           นำแนวคิดของทฤษฏีนี้ไปใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ ว่าควรทำความเข้าใจโดยมองปัญหาทุกแง่ทุกมุม ไม่ควรมองปัญหาโดยมีอคติ และใช้ความคิดอย่างมีเหตุมีผลในการแก้ปัญหา
           นำไปใช้ในการทำความเข้าใจบุคคลว่า ควรมองเขาในภาพรวม ( The Whole Person ) คือ การศึกษาคุณลักษณะต่างๆ ของบุคคลกับความมีเหตุผล ไม่ตัดสินความดีความชั่ว ของบุคคล โดยมองด้านใดด้านหนึ่งของเขาเท่านั้น
           นำไปใช้ในการทำความเข้าใจบุคคลว่า ควรมองเขาในภาพรวม ( The Whole Person ) คือ การศึกษาคุณลักษณะต่างๆ ของบุคคลกับความมีเหตุผล ไม่ตัดสินความดีความชั่ว ของบุคคล โดยมองด้านใดด้านหนึ่งของเขาเท่านั้น



 การนำหลักการทฤษฎีกลุ่มความรู้ ความเข้าใจ ไปประยุกต์ใช้
       1. ครูควรสร้างบรรยากาศการเรียนที่เป็นกันเอง และมีอิสระที่จะให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ทั้งที่ถูกและผิด เพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของข้อมูล และเกิดการหยั่งเห็น
       2. เปิดโอกาสให้มีการอภิปรายในชั้นเรียน โดยใช้แนวทางต่อไปนี้
           --เน้นความแตกต่าง
           --กระตุ้นให้มีการเดาและหาเหตุผล
           --กระตุ้นให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม
           --กระตุ้นให้ใช้ความคิดอย่างรอบคอบ
           --กำหนดขอบเขตไม่ให้อภิปรายออกนอกประเด็น
       3. การกำหนดบทเรียนควรมีโครงสร้างที่มีระบบเป็นขั้นตอน เนื้อหามีความสอดคล้องต่อเนื่องกัน
       4. คำนึงถึงเจตคติและความรู้สึกของผู้เรียนพยายามจัดกิจกรรมที่กระตุ้นความสนใจ
ของผู้เรียนมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ผู้เรียนนำไปใช้ประโยชน์ได้และควรจัดโอกาสให้
ผู้เรียนรู้สึกประสบความสำเร็จด้วย
       5. บุคลิกภาพของครูและความสามารถในการถ่ายทอดจะเป็นสิ่งจูงใจให้ผู้เรียน
มีความศรัทธาและครู

อ้างอิง
ขวัญฟ้า  รังสิยานนท์.(2552).การพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แนวพุทธสำหรับเด็กปฐมวัย. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น